ข้อมูล Encephalartos Hirsutus
ข้อมูล Encephalartos Hirsutus (แปลมาจากหนังสือปรง South Africa)
P.J.H (Johan) Hurter และ Hugh F.Glen ได้อธิบายในปี 1996. โดยสายพันธุ์นี้ได้อธิบายถึงลักษณะของใบที่มีขน
Encephalatos Hirsutus คือ king of blue leaf Cycads และเป็นสายพันธุ์ที่มีขนจำนวนมากเกาะติดที่ใบทำให้จับใบแล้วรู้สึกถึงความสากของใบซึ่งจะมีมากกว่าEncephalartos ทั่วไป (ตามชื่อของเค้าแล้ว คำว่าHir น่าจะมาจากคำว่า Hairแปลว่าขน) ด้านหลังใบเรียบเมื่อสัมผัสแทบจะไม่เห็นถึงเส้นหลังใบ(veins)แต่มองจะเห็นเป็นเส้นบางๆ โดยทั่วไป
จะมี Encephalartos hirsutus อยู่ 2 ชนิด
1. Encephalartos hirsutus Blue Form คือสี cerulean frost (https://youtu.be/UOEL3AMQv_w)(golden Hair,Silver Hair,Blond Hair,White Hair)
2.Encephalartos hirsutus Green form ลักษณะจะมีสีฟ้าอมเขียวที่ใบ สีฟ้าไม่ชัดเจน แต่ถ้าสีฟ้าไม่ดีก็อาจจะเป็นเขียวทั้งใบได้ โดย Encephalrtos hirsutus green form น่าจะเป็น Hybrid มี F1,F2,F3,F4,F5 ติดมา สายพันธุ์ที่เอามาผสมด้วยคือ Encephalartos longifolius jubertina
นักสะสมหลายสำนักแบ่งเป็น 3 แบบ
1.แบ่งตามความสูง
1.1 high land หรือ ขนที่ใบเป็น Golden Hair เรียก Encephalatos Hirsutus Golden Hair ขนสีทองใบจะออกสีน้ำเงินเข้ม
1.2 Low land ขนที่ใบ Encephalatos Hirsutus เรียกว่า(Silver Hair,Blond Hair,White Hair) Blue Form ขนสีเงินใบจะออกสีฟ้า Ice blue
2.แบ่งตามสี
2.1 Golden Hair เรียก Encephalatos Hirsutus Golden Hair เกิดบนยอดภูเขาสูงเท่านั้น
2.2 Silver Hair เรียก (Silver Hair,Blond Hair,White Hair) Blue Form เกิดบนภูเขาแต่ต่ำกว่าระดับความสูง 900-1200 ม. เหนือน้ำทะเล เพราะเมล็ด Encephalatos Hirsutus Golden Hair ร่วงหล่นลงมา พอเวลาผ่านไปเมล็ดได้ผสมมานับล้านๆปี จนเป็นสี (Silver Hair,Blond Hair,White Hair)
2.3 Green Hair เรียก Encephalatos Hirsutus Green Hair ไม่นิยมสำหรับนักสะสมที่มีความรู้(แต่มักจะพบเห็นได้กับนักสะสมมือใหม่และชอบของถูกในตลาดซื้อขายพืชหายาก) เกิดจากการ hybrids กับสายพันธุ์อื่นในระดับความสูงไม่มาก
3. ตามขนาด
3.1 Giant Form ก็คือ Encephalatos Hirsutus Golden Hair
3.2 Dwarf Form ก็คือ Encephalatos Hirsutus Silver Hair
Habitat (ถิ่นที่อาศัย) : ได้มีการแยกเป็น 3 แบบกว้างๆ ในการเกิดขึ้นของสถานที่ที่รู้จักของสายพันธุ์นี้ ทั้งหมดของสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นใน The far northern part of Limpopo สายพันธุ์นี้จะแตกต่างกันตามสถานที่เกิดอย่างไรก็ดีสายพันธุ์นี้จะมีขนเกิดขึ้นอย่างมากมายและ s-angle ของใบย่อยทั้งหมดเป็นสำคัญ พืชสายพันธุ์นี้เติบโตในสภาวะที่มีความชื้นสูง ในป่าที่กึ่งป่าผลัดใบ ป่าเต็ง ป่ารังผสมการเกาะที่หินควอทซ์ แสงแดดเต็มวันที่ความสูง 800-1000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และมีฝนตกในพื้นที่ 350-650 มิลลิเมตรในฤดูร้อน ที่บริเวณหน้าผาทางตะวันออกเฉียงใต้สายพันธุ์นี้มีความต้องการจากนักสะสมอย่างมากมายและมันกำลังจะหมดออกไปจากป่า ซึ่งป่าไม่ใช่ที่ปลอดภัยของมันอีกต่อไป
การเพาะพันธุ์(Cultivation) : Encephalartos hirsutus เป็นพืชที่เจริญเติบโตช้าและเมื่อโตเต็มที่จะชอบแดดมาก แม้ว่าไม่มีใครเคยเจอเมล็ด และนี่ก็เป็นปัญหาอย่างยิ่งเกี่ยวกับสายพันธุ์นี้ สายพันธุ์นี้เหมาะแก่การขยายพันธุ์โดยทางหน่อเพราะเป็นวิธีทางเดียวที่จะได้สายพันธุ์แท้และเมื่อโตเต็มที่จะสามารถทนกับความหนาวเย็นได้ในสภาวะน้ำแข็งเกาะที่ใบเลย
ลำต้น(Stem) : ลำต้นจะสูงขึ้นไปทางอากาศและตั้งตรง แต่เมื่อลำต้นมีความยาวมากๆจะกลับมาในแนวนอนขนานกับพื้น ในส่วนลำต้นที่สูงขึ้นไปข้างบนอากาศจะไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาแต่ว่าอาจจะมีหน่อเกาะติดมาได้ สามารถสูงได้เหนือพื้นดิน 4.2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 350-400 มิลลิเมตร ปลายยอดของต้นจะปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่นเป็นชั้นซึ่งโดยทั่วไปหลังจะเปลี่ยนเป็นสีเทาต่อมา
ใบรวมทั้งหมด(Leaves)
จะมีสีน้ำเงินอมเขียวบนหน้าใบและที่หลังใบค่อนข้างที่จะออกเป็นสีน้ำเงินอมเขียวอ่อนกว่า ใบจะมีลักษณะตรงโดยที่ส่วนปลายใบจะมีการโค้งลงค่อนข้างน้อยมาก ก้านใบทั้งหมดจะแข็งและก้านใบก็มีขนปกคลุม แต่ว่าขนที่จำนวนมากขึ้นอยู่กับอายุของใบ ก้านใบรวมทั้งหมดจะมีความยาว 1.1-1.4 เมตร
มีค่า pp-angle ที่ 60°-110° ผ่านทางขอบใบ หรือ อาจจะเพิ่มเล็กน้อยที่ใบฐาน(ที่ช่วงใบล่างลงไปทาง petiole)
ค่า pr-angle จะมีค่า 20°-30° องศา ที่ปลายก้านใบ แต่ว่าจะเหลือ 55°-80° องศาที่ที่ใบฐาน(ที่ช่วงใบล่างลงไปทาง petiole)
ค่า s-angleจะลดจาก +80° ถึง +90° องศา ที่ปลายก้านใบไปจนถึงประมาณว่า +10° ถึง +20° ที่ขอบฐานใบ(ที่ช่วงใบล่างลงไปทาง petiole)
Petiole : ความยาวสามารถขึ้นไปได้ถึง 300 มิลลิเมตร และอาจจะมากกว่า ขนที่ปกคลุมจำนวนมากขึ้นกับอายุของใบ
Median leaflets : ความยาวใบย่อย 130-170 มิิลลิเมตร ความกว้าง 20-24 มิลลิเมตรและใบมีลักษณะคล้ายหนัง(leathery)ที่ปกลุมด้วยปุ่มเล็กๆจำนวนมากที่ผิวใบ ซึ่งยากแก่การมองเห็นเพราะว่าถูกปกคลุมด้วยขนจำนวนมากที่อยู่บนใบผิวหน้าของใบย่อยทั้งหมดจะมีการเว้าในทางขวางและทางตรงก็จะมีการเว้าในทางยาว ขอบใบไม่มีหนาม ส่วนของขอบใบล่างจะมีการโค้งเล้กน้อย ใบย่อยทั้งหลายจะมีความพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง เป็นแบบ Decurrent(เหมือนครีบ) ภายใต้หลังใบจะมีเส้นตามแนวยาว ปลายใบจะมีลักษณะแหลม
Basal leaflets : ใบในส่วนนี้จะมีการลดขนาดลงสู่ใบล่างลงไปทาง petiole
Cones : Cones ของทั้ง Male cone และ Female cone จะมีสีน้ำเงินแกมเขียว มี Waxy และไม่มีขนที่ผิว
Male cones : สามารถเกิดได้ 1-5 conesต่อฤดูต่อลำต้น มีขนาดความยาว 500 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 90 มิลลิเมตร Pellen shedding จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษจิกายนถึงมกราคม
Female cones : สามารถเกิดได้ 1-3 conesต่อฤดูต่อลำต้น มีขนาดความยาว 400 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 350 มิลลิเมตร และมีความยาวก้านได้ถึง 60 มิลลิเมตร แต่ต้องสังเกตเพราะมี the calaphyllsปกคลุมที่ปลายยอด Conesจะไม่เกิดการสลายตัวเป็น spontaneously และจะกลายเป็น 200 omnules ในแต่ล่ะ Cones แทน
เมล็ด (Seeds) : เมล็ดจะเป็นสีส้มอมแดงด้วย sarcotesta ที่ว่าจะไม่กลับมาเป็น mucilaginous ในการทำให้เมล็ดสุก
เนื้อในเมล็ด( Seed kernels) : มีความยาว 30-35 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15-18 มิลลิเมตร ผิวเรียบ
Notes
Encephalartos hirsutus สายพันธุ์นี้ไม่ค่อยสับสนกับสายพันธุ์อื่นๆของ south africa cycads เพราะว่า ทุกส่วนของใบจะมีขนปกคลุมจำนวนมากสำหรับทุกช่วงอายุของใบ โดยใบย่อยจะมีการอธิบายได้ดีในโครงสร้างตามยาวบนหลังใบและใบย่อยที่พิเศษ เป็นแบบชัดเจนคือ decurrent(เหมือนครีบ)
Encephalartos hirsutus สามารถเลี้ยงได้เหมือน E.eugene-maraisii,E. dolomiticus, E. dyerianus and E. middelburgensis สายพันธุ์ที่ว่ามีความสัมพันธุ์และชีวิตความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน ชอบที่จะมีลักษณะดินที่โปร่ง พืชสายพันธุ์แถบนี้จะชอบอากาศแบบ full sun ขยายพันธุ์โดยเป็นเมล็ด ยกเว้นEncephalartos hirsutus ที่ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ(มีเฉพาะเพศผู้)
E. hirsutus ได้ถูกอธิบายขยายความเป็นสายพันธุ์ใหม่(Hurter & Glen 1996) และในปัจจุบันได้รู้จักจากการแบ่งแยกกว้างๆ 3 ความรู้ในท้องถิ่นใน the Northern Province of South Africa.สายพันธุ์นี้ชื่อ hirsutusได้เป็นเกียรติซึ่งได้หมายถึงการปกคลุมด้วยขน พืชสายพันธุ์นี้มีรูปแบบที่อ้างจาก Encephalartos “decurrens”
E. hirsutus ดูผิวเผินจะคล้าย E. eugene-maraisii, E. lehmannii, E. princeps, E. dolomiticus, E. dyerianus,E.nubimontanus and E. middelburgensis โดยพวกนี้ที่กล่าวมาจะมีลักษณะก้านที่แข็งทื่อ มีปลายที่แหลมคมและใบมีสีเขียวอมน้ำเงิน อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของพืชชนิดนี้( E.hirsutus)ได้ถูกจำแนกความแตกต่างจาก 6 ชนิดที่กล่าวมาโดยมีการอยู่อาศัยแบบนอนโดยรับน้ำหนักของตัวมันเอง โดยใบย่อยของE.hirsutus จะมีลักษณะเป็นครีบ และจะมีเส้น veins เกิดขึ้นที่ผิวใบของใบย่อย จากสัณฐานวิทยาของใบใน E.hirsutus เป็นลักษณะเด่นชัด ใบย่อยจะเงยขึ้นและโค้งลงเล็กน้อยมากที่ปลายใบและมีการทับซ้อนจากขอบใบล่างทับขอบใบบนชิดติดกันมากของใบย่อยและส่วนของฐานใบย่อยก็มีความชิดติดกัน ที่ปลายใบเมื่อใบแก่จะมีการโค้งลงไปที่หลังใบเล็กน้อยและยังมีขนที่ใบเมื่อใบแก่ขนจะหลุดออกไปแต่ก็ยังมีความสากที่ปลายนิ้วสัมผัส ลักษณะนี้ไม่สามารถจะปรากฎในที่อื่นของสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน
ใน E. eugene-maraisii, E. dolomiticus and E. princeps ใบย่อยจะโค้งเข้าหากันและมีการทับซ้อนแต่ว่าเส้น veinsของทั้ง 3 ชนิดนี้จะไม่เกิดขึ้นที่ด้านหลังของใบย่อยและช่องว่างระหว่างใบย่อยที่อยู่บนก้าน E. lehmannii and E. dyerianus ก็จะแตกต่างกันกับ E.hirsutus โดยที่เกี่ยวกับช่องว่างระหว่างใบย่อย โดย E.hirsutus จะมีการเกยทับกันแบบใบล่างทับใบบนของใบย่อย แม้ว่าช่วง The median leafletsโดยปกติจะไม่ทับซ้อนกัน สำหรับ E.middleburgensis ที่แตกต่างจาก E. hirsutus จริงๆ ในเรื่องการทับซ้อนของใบที่จะเป็นใบบนทับใบล่างตลอดแนว หนามและใบที่ลดรูปลงที่ด้านล่างของก้านใบก็ไม่เหมือนกัน ถ้าสังเกตุอย่างลึกซึ้งจะเห็นความแตกต่างใน Conesของ E.hirsutus
In E. eugene-maraisii, E. dolomiticus and E. princeps the leaflets are also inflexed and overlapping but the veins of these three species are not raised on the abaxial surface of the leaflets and the leaflets are subsessile on the rachis. E. lehmannii and E. dyerianus also differ from E. hirsutus in that their leaflets are subsessile and overlap with the lower margins over the upper margin of the adjoining leaflets, although their median leaflets usually do not overlap. E. middelburgensis differs strikingly from E. hirsutus in its subsessile, strongly succubous leaflets. Profound differences are observable in the cones of E. hirsutus.