ข้อมูล Encephalartos relictus
ข้อมูล Encephalartos relictus (ได้มาจากการแปลในหนังสือ South africa)
P.J.H (Johan) Hurter and Hugh F.Glen อธิบายสายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะตัวผู้ในปี 2001 ในตำราที่เสนอถึงความจริงที่ว่าสายพันธุ์นี้ไม่ปรากฎพบอยู่ในธรรมชาตินานมากแล้ว
Habitat ล่าสุด Mr.J.J.P. Du Preez ในสายพันธุ์นี้ได้นำเข้าไปประชุมใน The scientific World สายพันธุ์นี้เป็นกลุ่มสายพันธุ์เล็กๆที่เติบโตบนสวนของเขาหนึ่งในนั้น และหลายๆที่ใกล้ stegi(เดี๋ยวนี้คือ siteki) อยู่ใน northeastern Swaziland จากข้อมูลที่มีมา มันจะปรากฎว่ากลุ่มทั้งหมดถูกทำลายโดยนักสะสมจำนวนมาก เผ่าพันธุ์พื้นถิ่นที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับยา มีบางตัวอย่างที่อยู่ในสวน ในสายพันธุ์ที่เติบโตในรูปแบบการผสมและผลัดใบในทุ่งหญ้าซาวันนาห์และ bushveld บนชั้นของความลาดชัน เพื่อต้องการรับแสงแดดแบบ fullsun
Cultivation
ความรู้อันน้อยนิดเกี่ยวกับความต้องการของสายพันธุ์นี้ ยกเว้นว่ามีใบไม้อื่นมาบังแสงจนทำให้แสงแดดเต็มวันลดลงในส่วนเล็กๆของสวน Pretoria และแดดแบบรำไรในสวน Durban และมันสามารถขยายพันธุ์ได้ทางหน่อ(Sucker)
ลำต้น (Stem) ลำต้นที่ขึ้นไปในอากาศจะไม่มีกิ่งก้านสาขาแต่ในบางครั้งลำต้นกลับโตในแนวนอนและมีการออกเป็นหน่อด้วย มันสามารถสูงได้ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 400-450 มิลลิเมตร ที่ปลายยอดของลำต้นจะมี Cataphyllys มีการปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลทองที่ผิวนอกเพียงบางส่วนจะปรากฎขึ้นตามอายุ
ก้านใบย่อยทั้งหมด(Leaves)
เริ่มต้นด้วยการมี Waxy เกิดขึ้นที่ใบมีสีน้ำเงินแกมเขียว โดยบนใบจะมีสีเข้มมากกว่าด้านล่างใบ ใบที่เกิดขึ้นอย่างไรก็ตามหลังจากนั้นจะกลับมาเป็นสีเขียวสดใส ใบแข็งแม้ว่าจะมีการโค้งลงที่ปลายใบ ที่ก้านเมื่อเริ่มแรกจะมีขนปกคลุมแต่เมื่อผ่านไปขนจะลดจำนวนลงจนเมื่อใบแก่จะไม่มีขนปกคลุมเลย ใบย่อย ใบที่อยู่ส่วนปลายจะมีการทับซ้อนแบบ ล่างทับบน(incubously) ส่วนใบที่อยู่ส่วนกลางถึงล่างของก้านใบจะทับซ้อนแบบบนทับล่าง(succubous)
pp-angle 60°-80° ที่ปลายใบ และเพิ่มถึง 120°-170°ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole
pr-angle 30°-45° ที่ปลายใบ และเพิ่มถึง 70°-80° ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole
s-angle จะมีค่า 0° และ +30° ที่ปลายใบ และเปลี่ยนไปประมาณ 0° ถึง -20° ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole
Petiole มีความยาว 100-200 มิลลิเมตร เริ่มต้นด้วยการมีขนปกคลุมอยู่ข้างนอกซึ่งจะปรากฎเล็กน้อย ซึ่งหลังจากนั้นใบที่ฐานจะเริ่มไม่มีขนปกคลุมเมื่อเวลาผ่านไป
Median leaflets : จะมีความยาว 200-250 มิลลิเมตรและกว้าง 14-17 มิลลิเมตร พวกมันทีเริ่มแรกจะมีขนแต่หลังจากนั้นจะไม่มีขน ใบย่อยจะมีปุ่มขึ้นที่ใบเป็นจำนวนมาก และขอบใบจะบางไม่มีการบิด และที่หน้าใบจะแข็ง มีการเว้าในแนวขวาง และตรงเล็กน้อยในส่วนที่นูนในแนวนอน ใบย่อยด้านล่างจะมี 20-25 ของก้านในแนวนอนที่โดดเด่นและปลายใบย่อยจะแหลม
Basal leaflets : ใบที่ฐานทั้งหมดจะลดขนาดลงจนเหลือเป็นแบบ spines เล็กๆ
Cone : จากข้อมูลที่ถูกจัดว่าจะมีแต่ Male coneเท่านั้น
Male cones จะมีสีเหลืองอมเขียว และไม่มีขน ผิวเรียบ และจะมีปุ่มขึ้นที่มุม จะเกิด 1-3 Cones ต่อฤดูต่อต้น และจะมีขนาดยาว 200-240 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 120-150 มิลลิเมตร และมีก้าน(peducle) 30-50 มิลลิเมตร
Female cones ไม่พบ
เมล็ด(Seeds) ไม่พบ
เนื้อที่ไม่มีเปลือกของเมล็ด(Seed Kernals) ไม่พบ
Note
ทั้ง 2 ชนิดนี้ Encephalartos relictus และ Encephalartos heenanii มีขนที่บนยอด โดยใบอ่อนจะมีขนและมีสีน้ำเงินอ่อนขณะที่ยังอ่อนอยู่ ใบย่อยของสองสายพันธุ์นี้จะมีโครงสร้างใบในแนวราบที่โดดเด่นบนหลังใบ ได้อธิบายลักษณะของ 2 สายพันธุ์นี้
1. Encephalartos relictus : pp-angle ของใบหลายๆใบที่องศาเล็กกว่า 180 องศา ใบย่อยจะโค้งลง ใบย่อยที่ฐานจะลดขนาดจนถึงเป็นหนามย่อยเล็กๆ(spines) และพอเกิด Male cones จะไม่มีขน
2.Encephalartos heenanii : pp-angle ของใบหลายๆใบที่องศามากกว่า 180 องศา ใบย่อยจะโค้งขึ้น ใบย่อยที่ฐานจะไม่มีลดขนาดจนถึงเป็นหนามย่อยเล็กๆ(spines) และพอเกิด Male cones จะมีขน