Encephalartos cupidus

ข้อมูล Encephalartos Cupidus

ข้อมูลควรรู้เกี่ยวกับต้น Encephalartos Cupidus(แปลมาจากหนังสือที่มาจาก South Africa)

Encephalartos Cupidus

Encephalartos cupidus
Encephalartos cupidus
Encephalartos cupidus
Encephalartos cupidus
Encephalartos cupidus
Encephalartos cupidus

Robert Allen Dyer อธิบายเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ในปี 1971 โดยมีคำแปลจากภาษา Latin มีความหมายว่า “desirous”เป็นที่ต้อง และอ้างถึงนักสะสมหลายๆคน ที่ต้องการสะสมพืชชนิดนี้

ถิ่นกำเนิดและการอยู่อาศัย (Habitat) :

เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในบริเวณเล็กๆใน Transvaal Drakenberg ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ Blyde ไปถึงตอนเหนือของ the north of Pilgrims อยู่ตรง Mpumalanga โดยจะเป็นไปทางพื้นที่ลานหญ้าที่อยู่ระหว่าง  Large boulders or Cliff ledges โดยบริเวณนี้จะมีฝนตกสม่ำเสมออยู่ที่ 350-750 มิลลิเมตรต่อปี สายพันธุ์ Encephalartos Cupidus เป็นที่สนใจของนักสะสมชนิดหนึ่ง 

การดำรงชีพ(Cultivation ) :

เป็นต้นปรงขนาดเล็ก(Dwarf cycad) สูงประมาณ 15 cm. เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 cm. สายพันธุ์ชนิดนี้มีรากอยู่ในดินลึก ชอบแดดแบบ Full Sunlight และช่วงหน้าหนาว Frost tolerant มันขยายพันธุ์โดย เมล็ดและการแตกหน่อ มันเป็นชนิดที่มีหน่อเกิดขึ้นเยอะมาก บางทีมีถึง 10-15 หน่อรอบตัวเลย

Stem(ลำต้น) :

ลำต้นขึ้นตรง(erect) แต่ว่าลำต้นที่ใหญ่ที่อยู่บนดินจะยากมากที่จะมีความสูงถึง 150 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางจะสามารถใหญ่ได้ถึง 150 มิลลิเมตร สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้ดีว่ามีหน่อเยอะมากจะมีประมาณ 10-15 หน่อต่อต้นเลยทีเดียวซึ่งเป็นเรื่องธรรมดามาก

ก้านใบย่อยทั้งหมด(Leaves):

หน้าใบหลังใบทั้ง 2 ด้านมีลักษณะสีฟ้าอมเขียว(blue-green colour) ใบย่อยจะมีลักษณะตรง แต่ใบทั้งหมดในภายหลังจะมีการโค้งกลับ ก้านจะแข็ง โดยก้านใบจะยาว 0.5-1.0 เมตร

ค่า pp-angle 20°-30° ที่ปลายใบ  และ pp-angle 80°-90° ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole

ค่า pr-angle เพิ่มจาก 20°-30° ที่ปลายใบ และค่า pr-angle เพิ่มจาก 50°-70°ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole

ค่า S-angle +30° ถึง +80° ที่ปลายยอดและกลางใบ แต่ค่า S-angleที่ฐานใบมี 0°  ใบย่อยจะไม่มีใบอื่นใบใดที่ถูกทับซ้อนหรือถ้าทับซ้อนจะไม่มาก และการทับซ้อนจะเป็นแบบล่างทับบนทับครึ่งใบเท่านั้น

 

Petiole : 80-130 มิลลิเมตร

Median leaflets :จะยาวประมาณ 100-150 มิลลิเมตร กว้าง 10-16 มิลลิเมตร ผิวจะหยาบ ปราศจากปุ่มนูนๆ(node) และมีฟัน(teeth) 3-4 อันทั้งสองข้างขอบใบ ในทางกลับกันที่ผิวหน้าใบจะมีการโค้งเว้าใกล้กับหนามที่อยู่ขอบบน(Phyllodistal)และจะมีการโค้งนูนใกล้กับหนามที่อยู่ขอบล่าง(Phylloproximal) ใบย่อยจะชี้ตรงออกไป ขอบใบของใบย่อยจะค่อยๆหนาขึ้นไม่วกกลับและปลายใบจะเป็นหนามแหลมคม

Basal Leaflets: ใบล่างของก้านใบจะลดระดับจากใหญ่ไปเล็กเป็น Series จนถึงSpines(หนามเล็กๆ)

ใบย่อยทิศทางการตั้งใบตรงขนานออกไปโดยไม่มีการโค้ง

Cone ทั้งเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้ จะมีลักษณะเป็นสี Bright APPLE- GREEN ต่อฤดูกาลต่อต้นก่อน

เกสรตัวผู้(Male Cones)

1. หลังจากนั้นเมื่อพร้อมผสมและอายุมากแล้วจะเปลี่ยนเป็นสี yellowish

2. ความยาว  180-300มิลลิเมตร

3. เส้นผ่านศูนย์กลาง 60-80 มิลลิเมตร

4. เมื่อ Coneสด จะมีน้ำหนักอยู่ 0.3-0.4 กิโลกรัม

5. มีก้าน( peducle) ยาว 60-80 มิลลิเมตร

6.มี  150-190 Sporophylls

7. Pollen shedding จะเกิดเดือนมกราคมถึงมีนาคม

เกสรตัวเมีย(Female Cone)

1.มีความยาวประมาณ 180-200 มิลลิเมตร

2.เส้นผ่านศูนย์กลาง 120-140 มิลลิเมตรและจะปรากฎ Female Cone ขึ้นมาแทบจะชิดติดกับปลายยอดของลำต้นเพราะมีก้าน(peducle)เพียง 15-25 มิลลิเมตร

3.จะมีน้ำหนักประมาณ 2.8 กิโลกรัม

4. มี 115 sporophylls มี 26%ที่ได้เข้ามาผสมจากทั้งหมด

5.cone พร้อมที่จะผสม(spontaneously)ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ส่วนใหญ่จะได้ 120 เมล็ดที่ได้ผสมแล้วไม่ฝ่อ(Omnules) ในแต่ล่ะครั้ง

seeds(เมล็ด)

1.ความยาว 36-45 มิลลิเมตร

2.ความกว้าง  เส้นผ่านศูนย์กลาง 21-27 มิลลิเมตร

3.เมล็ดจะมีสีเหลืองส้ม(Apricot)


Note

ปรากฎว่ามีการสับสนเกี่ยวกับรูปแบบที่นอกเหนือจากฟอร์มที่พิเศษ ลำต้นสามารถขึ้นไปได้สูงถึง 0.7 เมตร(ทาง Slabbert & Hurter 1993) และได้อธิบาย “Giant Cupidus”ด้วยในตำรา ซึ่ง Encephalartos Nubimontanus ทาง Hurter ก็เป็นคนอธิบายไว้เช่นกัน ในปี 1995 Encephalartos Cupidus “Giant”ได้ถูกจัดในหมวดหมู่สายพันธุ์ทางพืชไว้ โดยมีการกล่าวเกี่ยวกับ Encephalartos nubimontanus ที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน การอธิบายโดย Hunter(1995)

 

Encephalartos Cupidus  ที่มีรูปแบบเป็น “Robusta form” กับ Encephalartos Nubimontanus Robusta มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันของใบย่อยที่ว่าการลดขนาดของใบย่อยลงเรื่อยๆจนเป็นเหมือนหนามเล็กๆ(spines) จนใกล้ถึงฐานใบ(the leaf base)ที่จะติดกับ Collar วึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นมาก ทั้งสองชนิดนี้มีขอบหนามใบที่แหลมคม(pungent teeth)ทั้งสองด้านของขอบใบย่อย อย่างไรก็ตามการจัดหมวดหมู่ของสายพันธุ์ได้อธิบายความเป็นจริง ที่ว่า Encephalartos cupidus ที่ไม่ใช่ฟอร์มธรรมดาเท่านั้นที่จะมีลำต้นขึ้นไปในอากาศ เราจะเรียกว่า Robusta Form ส่วน Encephalartos Nubimontanus normal form เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่มีลำต้นสูงขึ้นไปในอากาศ โดยเฉพาะการจัดหมวดหมู่ของสายพันธุ์ได้อธิบายว่า Cone ทั้งสองชนิดมีสีและรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกัน

ส่วนที่ต่างกันคือ

1.ความยาวของก้านใบ Encephalartos Cupidus เมื่อหัวของทั้งสองต้นนี้มีขนาดเกิน 10 cm จะเริ่มเห็นได้อย่างชัดเจนคือ Encephalartos Cupidus robusta จะมีก้านใบยาวได้ไม่เกิน 1 เมตร ส่วน  Encephalartos Nubimontanus Robusta จะเกิน 1 เมตรแน่นอน

2. Cone จะมีสีและลักษณะรูปทรง morphologyที่แตกต่างกัน

3.ปลายหนามที่ใบที่เรียงกันเป็น serie และระเบียบมากคือ Encephalartos Nubimontanus Robusta เรียงลงมาเป็นลำดับ ต้องเป็น  3 แฉกตลอดแนว

4.ขนาดความกว้างของใบต่างกัน

5.รูปทรงใบของ Encephalartos Nubimontanus Robusta จะออกไปทางสีเหลี่ยมผืนผ้า

ส่วน  Encephalartos Cupidus Robusta ปลายหนามอาจจะสลับก้น ได้เช่น 3-3-2-1-3-2-1

ส่วนที่เหมือนกันคือ

1.ทั้งสองชนิด จะมีใบเป็นสีฟ้าแกมเขียวเหมือนกัน

2. ใบย่อยที่อยู่แกนกลางมีแนวspineเหมือนกัน และลดขนาดจนถึง collar เหมือนกัน

3. ขณะที่ลำต้น Encephalartos Cupidus Robusta เป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นเป็นลำต้น แต่สำหรับ  Encephalartos Nubimontanus Robusta เป็นเรื่องปกติมากที่จะเป็นลำต้นขึ้นไปในอากาศ

4.ขอบใบจะมีหนามที่ดุดันเหมือนกัน

5.หน้าใบกับหลังใบสีเดียวกัน

6.ไม่มีปุ่มเล็กๆเกิดขึ้นที่หน้าใบ

 

© 2000:Mr.Prince Farm, All Rights Reserved | Awesome Theme by: D5 Creation | Powered by: WordPress