ข้อมูล Encephalartos cycadifolius

ข้อมูล Encephalartos cycadifolius (ได้แปลมาจากหนังสือ South Africa)

ในปี 1801  สายพันธุ์นี้ถูกอธิบายโดย N.J.Jacquin ใน The Royal Botanical garden ในเมือง vienna ประเทศ ออสเตรีย โดยถูกเรียกชื่อว่า Zamia cycadifolia ในปี 1834  J.G.C.Lehman ได้อ้างถึงว่าสายพันธุ์นี้อยู่ในกลุ่ม Genus ที่เรียกว่า Encephalartos ซึ่งเป็นไปตามกฎในการจัดของการเรียกชื่อใน Latin จึงถูกเปลี่ยนใหม่ในชื่อ Cycadifolius เมื่อ Jacquin คิดว่าสายพันธุ์นี้น่าจะคล้ายๆปาล์มด้วยใบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อเค้าพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจึงพบว่าเป็นปรง(Cycads) นาย Inez Clare verdoorn ก็ได้พิจารณาผิดเช่นกันเป็นพืชในแอฟริกาใต้ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ และเข้าใจว่าเป็นสายพันธุ์และชื่อว่า E.eximius ในปี1954

Habitat :

สายพันธุ์นี้มีเฉพาะที่เขา Waterberg ใน The bedford และ Cradock ของ The Eastern Cape มันโตในทุ่งหญ้าโล่ง และแสงแดดสามารถส่องมาถึงได้อย่างง่ายดาย ที่ระดับ 1800 เมตร เหนือน้ำทะเล มันสามารถอยู่จะอยู่ในสภาวะที่แห้งและหนาวเย็นได้ถึง(-6’c)หรือจนกระทั่งน้ำแข็งเกาะเลยทีเดียว ปริมาณฝนที่ตก 500-800 มิลลิเมตร ต่อช่วงหน้าร้อน โดยลิง baboon ชอบที่จะไปแกะ Female cone เอาเมล็ดจากต้นไม้ และก็กินในส่วนที่กินได้ของ Omnules ก่อนที่จะทิ้งโดยไม่ได้ทำลาย seed kernal ในกระบวนการ seed kernal เป็นการขยายพันธุ์ที่ดีทีเดียว ตามที่ระบบเกษตรกรพื้นถิ่น อธิบายว่าถ้าเกิดไฟป่าไปโดน จะทำให้เกิดการแตกใบใหม่ต่อมาหรือ Cone และจำนวนพืชสายพันธุ์นี้ในป่า ไม่ปรากฏว่าจะเสียอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว

Cultivation :

เป็นสายพันธุ์ที่เติบโตช้ามากและเมื่อโตเต็มที่ไม่สามารถขนย้ายโดยการที่ไม่มีราก เปอร์เซนต์ของการสะสมในป่า  omnules ปกติจะงอก แต่อาจจะมีความน่าจะเป็นเพราะ Pollinationจะถูกผสมโดยแมลงปีกแข็ง ในกลุ่มของ languriidae(Donaldson et al.1995) ถ้าโดนไฟเผา ใบจะกลับมาอีก 4-5 ปี พืชจะมีการเติบโตในสภาวะแดดเต็มวันในสภาวะดินสภาพกรดอ่อนๆและสภาวะอากาสหนาวรุนแรงที่มีน้ำแข็งปกคลุมได้อย่างดียิ่ง สายพันธุ์นี้สามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือการแยกหน่อ แต่ว่ามันยากตรงที่การนำหน่อออกมาโดยที่ให้ได้รับการบาดเจ็บเสียหายน้อยที่สุด เพราะว่าความลึกมีความสัมพันธุ์คือใต้ระดับผิวดินลงไปเป็นลำต้นหลัก

ลำต้น(Stem) :

ลำต้นขึ้นตรงบนพื้นดิน  ไม่มีกิ่งก้านสาขาเหนือระดับพื้นดิน มันจะผลิต Sucker จำนวนมากที่อยู่ใต้พื้นดิน และมันจะมีจำนวนมากถึง 15-20 ในการโผล่ขึ้นมาจากดิน โดยลำต้นของ  Encephalartos cycadifolius จะสูงได้ 1.5 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 มิลลิเมตร โดยยอดสุดของลำต้นจะไม่มีขนปกคลุมที่ปลายแหลม(apex) แต่มันจะถูกป้องกันโดย Cataphylls ปลายอ่อนแหลมๆ

ใบทั้งหมด(Leaves) :

หน้าใบเป็นสีเขียวแก่เข้ม หลังใบจะเป็นสีเขียวที่อ่อนกว่าโดยหลังใบจะมีเส้นที่เรียกว่า Vein เกิดขึ้น 5-6 เส้นต่อ 1 ใบ ที่ผิวใบภายนอกจะปกคลุมด้วยขนอ่อนบางๆสีขาวเมื่อใบยังใหม่อยู่ ใบย่อยจะชี้ตรงขึ้นไปและปลายใบจะโค้งลงมา ก้านใบจะออกสีค่อนข้างเหลือง ซึ่งเมื่อมันบิดจะทำให้ใบมันไม่เป็นระเบียบเมื่ออยู่กันเป็นกลุ่ม ใบย่อยในก้านใบหนึ่งจะยาวเป็นแถบได้ตั้งแต่ 0.5-1.0 เมตร สามารถรับแสงได้ถึง Full Sun ใน South Africa ถ้าในไทยน่าจะไม่เกิน 30 องศาแบบเต็มวัน

pp-angles 160°-240°

pr-angles 35°จนถึง 70°

s-angles -45°

Petiole จะมีความยาว 90-140 มิลลิเมตร

ใบย่อยจะไม่มีการทับซ้อน ยกเว้นที่ปลายยอดอาจจะมีเป็นบางส่วนที่ใบบนจะทับซ้อนใบล่าง

ใบย่อย(Medium Leaflets) ยาว 90-150 มิลลิเมตร 4-6 มิลลิเมตร กว้างและมีลักษณะคล้ายหนัง(leathery) บนผิวใบจะตรงในแนวขวาง และอาจจะเว้าตัวลงของผิวใบ(concave)เล็กน้อยในแนวยาวในกรณีที่รับแดดแบบเต็มวัน แต่ถ้าผิวหน้าใบตรงในแนวยาวแสดงว่ารับแสงแบบแดดอ่อนๆ ไม่มีปุ่ม และขอบใบไม่มีหนาม ใบหนาแต่ก็ไม่แข็งจนโค้งไม่ได้ ผิวหยาบที่ปกคลุมด้วยขน จะลดขนาดจนถึงฐานใบ

Basal leaflets จะลดขนาดใบจนถึงฐานใบ แต่ไม่ใช่ลดขนาดรูปใบ (not to spines)

 

Cone

จะปรากฎเกิดขึ้นในเดือน เมษายน สีของ Cone คือสีเหลืองและมีขนขาวๆบางๆภายนอก อาจจะมี 1-2 cone เกิดขึ้นใน 1 ฤดูกาลต่อปี พอปรากฏมาจะพบว่าเกิดขึ้นบนยอดของลำต้นโดยไม่มีก้านcone โดย Cone จะอยู่ติดที่ปลายยอดของลำต้นเลย และปกคลุมด้วย cataphylls

Male Cone ยาว 130-325 มิลลิเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลาง  40-100 มิลลิเมตร น้ำหนัก 0.9 กิโลกรัม มี 360-380 sporophylls    The Pollen shedding ตอน สิงหาคม-ธันวาคม

Female Cone ยาว 265-320 มิลลิเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลาง  140-180 มิลลิเมตร Peducle 25-45 มิลลิเมตร น้ำหนักสดจะหนัก 2.8 กิโลกรัม และมี 100-125 sporophylls  โอกาสที่จะได้ผสมที่ปลายยอดประมาณ 6% จะพร้อมผสมในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม

Seeds

มีสี”แดง”(Red)    ขนาดความยาว 25-31 มิลลิเมตร ความกว้าง 15-26 มิลลิเมตร ผิวเรียบไม่มีมุมมีเหลี่ยม

Note

อาจจะมีการสับสนระหว่างสายพันธุ์ Encephalartos Ghellinckii กับ Encephalartos friderici-guilielmi แต่ว่าใบของ Encephalartos Cycadifolius กับ Encephalartos friderici-guilielmi ก็ต่างกันทีเดียว สามารถแยกออกได้ไม่ยาก  โดยสายพันธุ์ Encephalartos Ghellinckii เป็นสายพันธุ์ที่ดูง่ายและเข้าใจได้ง่ายที่สุดไม่สับสนกับใคร   ที่ปลายยอดของลำต้น(stem apex)ของ Encephalartos friderici-guilielmi จะปกคลุมด้วยขน และใบตรงมีสีฟ้าแกมเขียว ส่วน Encephalartos Cycadifolius ที่ปลายยอดของลำต้น(stem apex)จะไม่มีขน และมากไปกว่านั้น ใบจะมีลักษณะโค้งลง และใบมีสีเขียวแก่ขณะที่ต้นยังไม่ออก CONE สิ่งที่สำคัญ ใบของ Encephalartos friderici-guilielmi จะมีใบย่อยที่ยาวกว่าและใบกว้างกว่า  Encephalartos Cycadifolius

 

© 2000:Mr.Prince Farm, All Rights Reserved | Awesome Theme by: D5 Creation | Powered by: WordPress