ข้อมูล Encephalartos Dolomiticus

ข้อมูลควรรู้เกี่ยวกับต้น Encephalartos  Dolomiticus (แปลมาจากหนังสือที่มาจาก South Africa)

  สายพันธุ์นี้ถูกอธิบายและและถูกตั้งชื่อในปี ค.ศ.1988 โดย John J.Lavronas และ Douglas L.Goode มันถูกอธิบายในตอนหลังเล็กน้อย แต่ว่าก่อนหน้า

ค.ศ.1988 ได้ถูกอธิบายโดย P.J. (Hannes) Robbertse,Piet J.Vorster และ Suzelle van der Westhuizen ภายใต้ชื่อ Encephalartos verrucosus
ในตำราคำว่า "Dolomiticus" ได้มาจากคำว่า Dolomitic rock formations ซึ่งมีถิ่นฐานสายพันธุ์การอยู่อาศัยตามธรรมชาติของสายพันธุ์นี้

Habitat:
   สายพันธุ์นี้มีโอกาสเสี่ยงอย่างมากที่จะสูญพันธุ์พบในประเทศ Endemic ถึง South Africa พบในพื้นที่เล็กๆในบริเวณเทือกเขาใน Transvaal drakensberg ซึ่งอยู่ทางเหนือ
ของ Penge แต่เป็นทางใต้ของ Downs เป็นพืชที่เจริญเติบโต พืชเจริญเติบโตได้อย่างดีบนร่องหินหรือระหว่างแร่ที่อยู่บนหินขนาดใหญ่ต่างๆบนพื้นหญ้าที่ระดับความสูง 1200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ในช่วง
หน้าร้อนมีปริมาณ 650-800 มิลลิเมตร เพราะว่าสายพันธุ์แท้ทั้งหมดจะถูกนำออกแหล่งที่มันอยู่โดยนักสะสม และส่วนที่หลงเหลืออยู่ในธรรมชาติบริเวณนั้นในอนาคตก็คือเมล็ดที่รอการผสม
ไม่สามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้อีกต่อไป

Cultivation:
      พืชที่โตเต็มที่แล้วจะเติบโดได้เป็นอย่างดีในแสงแดดแบบเต็มวัน สายพันธุ์นี้จะเจริญเติบโตช้ามากบ้างปีอาจจะไม่แตกใบออกมาเลย มันสามารถทนสภาพอากาศแบบน้ำแข็งได้ 
และสามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือการแตกหน่อ
 
ลำต้น(stem):
    เมื่อลำต้นขึ้นไปในอากาศจะตั้งตรงขึ้นไป เมื่อลำต้นยาวอาจจะมีการเอนจะกลับมาเป็นในแนวนอน ส่วนที่ขึ้นไปในอากาศจะไม่มีกิ่งก้านสาขา 
แต่หน่อจะถูกผลิตขึ้นมาแทน
ลำต้นสามารถสูงขึ้นไปในอากาศได้มากกว่า 2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 25-40 เซนติเมตร The cataphylls ที่ปลายยอดของลำต้นจะเป็น
 greyish และมีขนยาวประมาณ 30-60 มิลลิเมตร  สายพันธุ์นี้จัดเป็นลำต้นขนาดเล็กจนถึงกลางของปรงตระกูล Encephalartos

ใบทั้งหมดใน 1 ก้าน  (leaves)

ใบทั้งหมดจะมีสีเหมือนกัน คือสีน้ำเงินอมเขียว บนทั้ง 2 ด้านใบ ทั้งหมดนี้มันจะตรงแต่ว่าอาจจะมีการโค้งลงทีล่ะน้อย ก้านใบจะแข็งและยาว 600-800 มิลลิเมตร ที่ก้านใบมักจะมีการบิดจัดว่าเป็นพืชที่ใบไม่เป็นระเบียบเลยจากที่ปรากฎ

pp-angle 20°-30° ที่ปลายแหลมก้านใบ แต่จะเป็น 85°-100°  ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole 

pr-angle  30°-50° ที่ปลายแหลมก้านใบ แต่จะเป็น 80° ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole

s-angle 0° ถึง +70°  ที่ปลายแหลมก้านใบ แต่จะเป็น 0° ถึง +20° ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole จะมีการทับซ้อนแบบใบล่างทับใบบน

ถ้าใบย่อยมันถูกบิด การบิดจะใช้เวลาบิดค่อยๆไล่ผ่านไปทางใบย่อยและไม่ไล่ไปถึงใบที่อยู่ด้านล่าง สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่มากกว่าธรรมดาในสายพันธุ์ Encephalartos อื่นๆ

 Median leaflets :

ความยาว 120-170 มิลลิเมตร ความกว้าง 10-14 มิลลิเมตร ใบลักษณะคล้ายๆหนัง(Leathery) และปราศจากปุ่ม(Nodules) ขอบใบย่อยจะหนาเล็กน้อย และก็ขอบใบเรียบไม่มีหนาม แต่บางครั้งพวกมันมักจะมีหนาม 1-2 หนามเล็กๆ(pungent teeth) บนหนามเล็กๆบริเวณขอบใบล่าง( phylloproximal margin )เท่านั้น ผิวใบบนของใบย่อยจะเว้าทางแนวขวาง และทั้งแนวตรงหรือแนวยาวจะเว้าเล็กน้อย ปลายใบย่อยจะเป็นหนามแหลมๆ

Basal leaflets(ใบในส่วนล่าง) :

จะไม่ลดขนาดลงสู่โคนด้านล่าง หรือถ้าจะมีก็อาจจะมีเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่ไม่มีหนาม(spine)ทั้งหมด

Petiole :

โดนปกติจะมีความยาว 120 มิลลิเมตร

Cone :

จะเกิดในช่วงเดือนพฤษจิกายน โดยทั้ง Male cone และ Female cone จะออกมา 1-3 Cone ต่อฤดูต่อต้น

Male cone :

จะเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ยาว 300-500 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 50-100 มิลลิเมตร ก้านของ cone ยาว 80-95 มิลลิเมตร Coneที่เพิ่งตัดมาจะมีน้ำหนัก 0.8 กิโลกรัม และ 250-300 sporophylls มี Pollen shedding จะอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคมจนถึงมกราคม

Female cone :

ในช่วงแรกจะมีสีน้ำเงินแกมเขียวแต่ว่าหลังจากเวลาผ่านไปจะกลายเป็นสีเหลือง  ยาว 300-500 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง  180-250 มิลลิเมตร  ก้านของ cone ยาว 40-80 มิลลิเมตร แต่จะเห็นว่าถูกปกคลุมด้วย Cataphyllsที่อยู่บนต้น Coneจะมีช่วงการผสมระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน โดยมี Omnucles อยู่ประมาณ 150-70 omnucles

Seeds:   จะมีสีเหลือง เฉลี่ยความยาวจะอยู่ที่ 47 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางจะอยู่ที่ 28 มิลลิเมตร

Seed kernals จะมีความยาวเฉลี่ย 30 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางจะอยู่ที่ 22 มิลลิเมตร

เกิดที่ระดับความสูง 1200 เมตร

พบในประเทศ Endemic ถึง South Africa พบในบริเวณ เทือกเขา Drakensburg transvaal

Note

ในบางครั้ง Encephalartos dolomiticus อาจจะสับสนกับสายพันธุ์ Encephalartos dyerianus , Encephalartos eugene-maraisii , Encephalartos middleburgensis ,Encephalartos nubimontanus เพราะว่าสายพันธุ์ทั้งหมดที่บอกมานี้มีลักษณะใบสีน้ำเงินอมเขียว ปราศจาก basal leaf collars และขอบใบย่อยไม่มีหนามที่ยื่นออกมา อย่างไรก็ตามสายพันธุ์นี้ ได้ถูกอธิบายจากหนึ่งอย่างโดยมีความหมายว่าหนึ่งอย่างหรือหลายอย่าง ดังสรุปได้ดังนี้

Encephalartos dolomiticus รูปแบบใบจะไม่ธรรมดาจะตรงมากและหลังจากนั้นจะบิดแต่ก็มี petiole เกิดขึ้น ใบย่อยจะไม่มีหนามที่ขอบใบ แต่ว่าสามารถมีหนามเล็กๆที่เรียกว่า teeth เกิดขึ้นที่ขอบใบได้ 1-2 หนามเล็กๆ s-angle ของใบย่อยที่เกิดขึ้นจะมีค่า 0° ถึง +70° ถ้าหลังจากการบิด(twist) มันจะเกิดทีล่ะน้อยเมื่อเทียบกับความยาวของก้านใบที่ช่วงปลายก้าน และบางครั้งอาจลงไปได้ที่โค่นใบย่อยของตัวมันเอง Cones จะมีสีน้ำเงินอมเขียว

Encephalartos dyerianus ก้านใบย่อยทั้งหมดจะบิดอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อเรามองจากข้างนอกต้น สำหรับระยะที่ความสั้นของโคนใบย่อยก่อนที่จะมีการบิดข้างในทีล่ะน้อย ความหนาแน่นใบที่ก้านของใบทั้งหมดที่มีสีน้ำเงินแกมเขียวซึ่งที่สำคัญเกือบจะไม่แสดงให้เห็นถึงโคนก้านใบ(almost sessile ) ผลที่ตามามาคือจะไม่เห็นปลายยอดของลำต้น ใบย่อยทั้งหมดจะไม่มีหนามที่ขอบใบ ใบย่อยของระยะครึ่งหนึ่งของก้านใบจะมีค่า s-angle 0° ถึง +15° Cones จะมีสีเหลืองอมเขียว

Encephalartos eugene-maraisii ก้านใบย่อยทั้งหมดจะไม่ได้แข็งตรง และมี Petioleที่โดดเด่น จะไม่มีหนามที่ใบย่อย แต่บางครั้งจะมีฟันเล็กๆขึ้นมาโดดๆเพียงฟันเดียวเกิดขึ้นได้ ใบย่อยจะมีค่า s-angle ประมาณ +90° และหลังจากนั้นจะมีการบิดที่ใบย่อยด้านล่าง ส่วน Cones มีสีน้ำตาลแดง

Encephalartos middleburgensis ก้านใบย่อยทั้งหมดจะตรงมาก และมี petiole ยกเว้น Avontuur form ใบของต้นที่โตเต็มที่จะไม่มีขอบใบแม้ว่าใบย่อยของพืชที่มีอายุยังไม่มากสามารถมีได้หนึ่งถึงสองหนาม(teeth) ในหนึ่งด้านหรือทั้งด้านขอบใบ ใบย่อยจะมีการบิดมันจะค่อยๆบิดทีล่ะน้อยผ่านความยาวทั้งหมดโดยมีค่า s-angle ที่มากกว่า -80° ส่วน The cones จะมีสีเขียวถึงสีน้ำตาลแดง

Encephalartos nubimontanus ก้านใบย่อยทั้งหมดจะไม่ค่อยตรง ในส่วนก้านใบย่อยทั้งหมดของรูปแบบ ” Robusta form” จะมีหนามที่เป็นฟันเล็กๆ(prominent pungent teeth) ยื่นออกมารอบๆใบ และใบย่อยได้ลดขนาดสู่โคนโดยลดลงแบบ long series of spines จนถึงโคนฐานใบ ในรูปแบบ(forms)อื่นๆของสายพันธุ์นี้ ขอบใบย่อยจะไม่ค่อยจะมีหนามหรือว่าถ้ามีก็เพียง 1-2 หนามเล็กๆและก้านใบที่ชี้เด่นชัดก็คือ Petiole  โดยใบย่อยของส่วนปลายครึ่งนึงของก้านใบ ในทุก forms จะมี s-angle ประมาณ +90° และมีการบิดที่มากหรือน้อยจะถูกควบคุมจากโคนของใบย่อย The cones เป็นสีเขียว

ในปี ค.ศ.1988 Encephalartos Dolomiticus ถูก จำแนกแยกจาก Encephalartos Eugene-maraisii เพราะ 2 ชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก จนหัวถึงขนาดเกิน 10 เซนติเมตรขึ้นไปถึงเริ่มแสดงความแตกต่างให้เห็น

ใบของ Seeding จะมีลักษณะ คล้ายกล้วยหอม มุมระหว่างใบซ้ายไปถึงใบขวาจะเห็นว่า Encephalartos Dolomiticus แคบกว่า Encephalartos Eugene maraisii

© 2000:Mr.Prince Farm, All Rights Reserved | Awesome Theme by: D5 Creation | Powered by: WordPress