ข้อมูล Encephalartos lanatus

ข้อมูล Encephalartos lanatus (ได้มาจากการแปลหนังสือ South Africa)

 

E. lanatus เป็นสายพันธุ์ที่ถูกอธิบายโดย O.C. Weeber ดังเช่น  E. fridericki-guilielmi  หลังจากที่ถูกสะสมในปีเมษายน  ค.ศ. 1911. สายพันธุ์นี้ถูกจัดอยู่ในหอพรรณไม้ของ Kew ดังเช่นรูปแบบสำหรับ Encephalartos lanatus  นักสะสมรุ่นต่อไปคือ  Dr. Pole Evans (1915) และ  Dr. Pole Evans (1915) แต่ Joseph Burtt Davy ผู้ซึ่งศึกษาอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกที่ the transvaal cycads ที่ Kew ในปี 1926, โดย Otto Stapf และ Joseph Burtt Davy  ผู้ค้นพบได้ถูกอธิบายในภาษาลาติน มีความหมายว่า Woolly มันจะมีขนที่บนยอดของลำต้น เมื่อใบอ่อนและ Cone ก็มีขน และก็เขียนว่า ” A Manual of the Flowering Plants and Ferns of Transvaal, ที่ Swaziland” และถูกอธิบายและอยู่ในชื่อ Encephalartos lanatus , Encephalartos laevifolius , Encephalartos paucidentatus และ Encephalartos transvenosus ใน ค.ศ.1933 อย่างไรก็ตาม Hutchison และ Rattray เป็นกลุ่มที่พบ Encephalartos  laevifolius,Encephalartos lanatus ด้วยกันอีก มันค้นพบในปี ค.ศ.1945 การปรับปรุงพันธุ์โดย Henderson เป็นคนชี้การแยก 2 สายพันธุ์บนความแตกต่างใน Cone และ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาทางใบ Dr Inez Verdoorn เสริมการตัดสินใจของเธอและมันนำไปสู่การอธิบาย ใน ค.ศ.1951 

 

HABITAT : พืชชนิดนี้มักจะเกิดที่ผิวหน้าความชัน ลาดเอียงของภูเขาระหว่างก้อนหินใหญ่ และหินที่ตั้งอยู่บนทุ่งหญ้าใน The Bronkhorstspruit  เขต Witbank และเขต Middleburg ตำบลใน Mpumalanga พื้นที่หุบเขาหินในแอ่งกักเก็บน้ำของ Wilge,Olifants และ Little Olifants River ในหน้าร้อนสามารถทนร้อนได้ ในหน้าหนาวสามารถทนหนาวได้ถึงขั้นเป็นน้ำแข็ง มักจะอยู่ความสูงตั้งแต่ 1500เมตรเป็นต้นไป และมีฝนตกประมาณ 660-770 มิลลิเมตรในช่วงหน้าร้อน สามารถทนความร้อนในหน้าร้อนได้ถึง 40 องศา และอากาศเย็นได้ถึงน้ำแข็งเกาะที่ใบ(-10 องศา) สายพันธุ์นี้อาจจะมีการสับสนกับ E. laevifoliusE. humilis

สายพันธุ์นี้ไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เท่าไหร่นัก  เพราะว่ามีบุคคลที่เข้าไปฟื้นฟูต้นกล้าในป่าและบริเวณโดยรอบ เนื่องจากสายพันธุ์นี้โตช้าและไม่เป็นที่นิยมของนักสะสมเท่าไหร่นัก เพราะจุดสำคัญก็คือมันไม่สามารถย้ายไปปลูกได้สำเร็จในที่อื่นมากนัก  มีพืชพันธุ์นี้จำนวนมากที่เหลือรอดอยู่ทั่วบริเวณดังกล่าว ที่บางส่วนที่มีระบบจัดการเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติโดยที่ปรงอยู่บริเวณที่เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดป้องการโจรกรรม

แม้ว่าพืชสายพันธุ์นี้จะเติบโตสูงใหญ่โดยปกติทั่วไปจะอยู่รอดตอนเกิดไฟป่าโดยไม่เป็นอันตราย หนึ่งในต้นเก่าถ้าเกิดไฟป่ามาเผาซ้ำก็จะทำให้ไหม้ไปในที่สุด เมล็ดต้นกล้าก็จะเติบโตบนก้อนหินใหญ่ขึ้นมาแทนในที่สุด ส่วนใหญ่หนีผลกระทบจากไฟไหม้ดังกล่าว และเริ่มเติบโตจากต้นกล้าเป็นที่น่าพอใจ

Cultivation

พืชสายพันธุ์นี้เป็นพืชที่โตช้ามากๆและไม่ค่อยแตกใบใหม่ในแต่ล่ะปี แต่ว่ามันเป็นพืชที่ทนทั้งสภาพวะการระบายน้ำในดินและความหนาวได้เป็นอย่างดี พืชขนาดใหญ่มักจะอยู่รอดในการขนย้าย โดยขั้นตอนซึ่งมีรายละเอียดของใบและราก ต้องพิจารณาเป็นอย่างดีถึงจะประสบความสำเร็จอย่างไรก็ตามระบบรากโดยส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในระหว่างทำการขนย้าย หลังจากการขนย้ายใช้เวลานานมากในการกลับคืนมาสู่สภาพความสมบูรณ์และสามารถแตกใบใหม่  พืชสายพันธุ์นี้ต้องการแดดอ่อนๆ หรือเมื่อมันแข็งแรงแตกใบมาใหม่แล้วสามารถรับแสงได้แบบเต็มวัน นักสะสมส่วนใหญ่จะเก็บเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์ โดยสายพันธุ์นี้ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือจากเมล็ดต้นกล้า ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ด

 

Stem(ลำต้น)

ลำต้นขึ้นไปโดยไม่มีกิ่งก้านสาขาบนลำต้น ขึ้นไปโดยชะลูดตรงๆขึ้นไป เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดกลาง สายพันธุ์นี้มักจะมีหน่อเกิดขึ้นมาก มันสามารถสูงได้ถึง 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 250-300 มิลลิเมตร ปลายยอดลำต้นจะเต็มไปด้วยขนสีขาว สายพันธุ์นี้เจริญเติบโตช้ามาก เมื่อโตเต็มที่พืชสายพันธุ์นี้จะมีแค่ลำต้นเดียวแต่ว่ากิ่งก้านจะเกิดจากบนดิน โดยสายพันธุ์นี้จะมีการผลิตหน่อจากข้างล่างเท่านั้น

ใบ (Leaves)

สีที่ใบจะมีสีเขียวจนถึงสีน้ำเงินอมเขียวในหน้าใบขึ้นอยู่กับสภาวะขณะนั้น และหลังใบจะมีสีเขียวอ่อนใส ใบอ่อนจะมีขนสี Silver จำนวนมากที่ผิว ใบย่อยเมื่อมันแข็งเต็มที่แล้วจะมีลักษณะใบตรง ปลายยอดของก้านใบจะมีการโค้งซึ่งเป็นลักษณะของก้านใบโดยจะโค้งลงและม้วนขึ้น เหมือน E.Horridus บางทีก็ใบก็ Twisted เล็กน้อย ใบค่อนข้างแข็ง แถบใบย่อยยาว 0.5-1.0 เมตร

pp-angle 20°-40° ที่ปลายใบ และเพิ่มขึ้นได้ถึง 50°-120° ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole

pr-angle 60°-80° ผ่านความยาวตลอดของก้านใบ

s-angle +90° ที่ปลายใบ และ ลดลงระหว่าง 0° และ +80° ในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole

ใบเก่าจะโรยลาโค้งลงหรือว่าตั้งในแนวราบไม่ได้ เมื่อใบใหม่มา หรือ Coneที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อใบมันตายลงจะมีลักษณะเหมือน skirt form รอบๆลำต้น

Petiole  : มีสีเหลือง ความยาว 120-180 มิลลิเมตร

median leaflets : ยาว 100-140 มิลลิเมตร ความกว้าง 6-8 มิลลิเมตร ที่หน้าใบจะหยาบๆสากๆ(leather) แต่ไม่มีปุ่ม( nodules) ใบจะมีขอบใบทั้งหมดและขอบใบจะโค้งเป็นรูปคันธนูอ่อนๆ(slightly recurved) หน้าใบจะมีการลักษณะเหมือนการโค้งที่เลนส์โค้งเว้าในแนวยาว(convex longitudinally) ปลายใบจะมีความแหลมและแข็ง ไม่มีหนามที่ขอบใบ ด้านหลังใบย่อยจะมีเส้นประมาณ 10-14 เส้น เรียกว่าเส้น Vein เห็นได้อย่างชัดเจน

Basal leaflets ได้ลดขนาดลงสู่ฐานใบแต่ไม่เป็นเกลียว (not to spines)

Cone มีทั้ง male cone และ female cone และจะมีการปกคลุมด้วยขนสีเทาๆ(greyish wooly outer layer)ที่ภายนอก Cone โดย Coneจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม

Male Cone จะสามารถเกิดได้มากถึง 6 coneต่อฤดูกาลต่อต้น มีความยาว 210-310 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง  60-85 มิลลิเมตร และมีก้านของConeยาว 30-50  มิลลิเมตร และ Coneเพิ่งตัดใหม่ๆสดๆน้ำหนัก 0.7-0.9 กิโลกรัม เกสรจะแตกออกมาตอน ตุลาคม-ธันวาคม

Female Cone จะสามารถเกิดได้มากถึง 3 coneต่อฤดูกาลต่อต้น  มีความยาว 250-350 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง  120-160 มิลลิเมตร

และมีก้านของConeยาว 60-80  มิลลิเมตร และ Coneเพิ่งตัดใหม่ๆสดๆน้ำหนัก 0.7-0.9 กิโลกรัม แต่บางทีคุณอาจจะสับสนกับ Cataphylls บนยอดต้นได้ และ Coneเพิ่งตัดใหม่ๆสดๆน้ำหนัก 1.9-2.4 กิโลกรัม และมี 100-160 Sporophylls เกสรจะแตกออกมาตอนเดือนมกราคม-มีนาคม

Seeds (เมล็ด) จะเป็นสีเหลือง  ความยาว 28-31 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 25-31 มิลลิเมตร มีเพียง 7%เท่านั้นที่จะกลายเป็นเมล็ด  seed kernels เมล็ดที่สมบูรณ์จะมีความยาว 26-28 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 21-25 มิลลิเมตร และปราศจากเหลี่ยมหรือร่องตรงเมล็ด

 

(Note)หมายเหตุ

พืชสายพันธุ์นี้(Encephalartos lanatus)เกิดบริเวณใกล้เคียงกับ Encephalarts Middleburgensis แต่ไม่ปรากฎในการเกิด hybridisation เพราะว่า Cone ที่เกิดขึ้นเกิดช่วงเดือนต่างกัน

Encephalartos lanatus เมื่อยังอายุไม่มาก จะเกิดการสับสนระหว่าง Encephalartos friderici-guilielmi , Encephalartos humilis และ Encephalartos laevifolius   โดยจะอธิบายใน Note ของสายพันธุ์ Encephalartos friderici-guilielmi

 

 

 

© 2000:Mr.Prince Farm, All Rights Reserved | Awesome Theme by: D5 Creation | Powered by: WordPress