ข้อมูล Encephalartos villosus

C.H.Lemaire อธิบายในสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ.1867 โดยการตั้งชื่อนี้ “villosus” การมีขนที่ดกจำนวนมากของก้านใบอ่อนก่อนที่จะพัฒนาเป็นก้านใบแข็งเต็มที่

Description(คำอธิบาย)

Stem(ลำต้น): ส่วนใหญ่ลำต้นจะเลื้อยลงที่บนดินและสามารถยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางจะสามารถใหญ่ได้ถึง 30 เซนติเมตร รากที่สดใหม่จำนวนมากจะรักษาคลุมยอดลำต้นที่ระดับผิวดิน สายพันธุ์นี้ยากที่จะเกิดหน่อ(Sucker) ปลายยอดลำต้นจะปกคลุมด้วยขนสีเทาขของ cataphylls

Leaves(ก้านใบย่อยทั้งหมด): ด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมันหรือทึบ และด้านล่างสีเขียวอ่อนกว่าเล็กน้อย พวกมันจะตรงเมื่ออายุยังน้อย แต่ภายหลังจะค่อยๆโค้งลง มีลักษณะแข็งและยาว 1.2-3.0 เมตร ใบอ่อนมีชั้นนอกเป็นขนสีขาวหนาแน่นซึ่งส่วนใหญ่จะหายไปในระหว่างการเปลี่ยนแปลงเป็นใบที่แข็งเต็มที่ได้

โดย pp-angle มีค่า 150o-200o ที่ปลายใบและจะลดองศาลงบ้างเหลือ 120o-180o ที่ the blade’s base

the pr-angle จะมีค่า 30o-60o ที่ปลายก้านใบ ถึง 90o-110o ที่ด้านล่างของก้านใบ(the blade’s base)

the s-angle จะมีค่าเป็น 0o ในส่วนมากที่ปลายใบ แต่สามารถเพิ่มขึ้นมาเป็น +20o และมีการเปลี่ยนแปลงไปประมาณ -40o ถึง -50o ที่ใบย่อยด้านล่างฐาน(the blade’s base)

แต่ว่าใบย่อยจะไม่มีการการทับซ้อนจากใบใดใบหนึ่ง หรือ อาจจะมีการทับซ้อนบางๆที่ปลายใบย่อย

Petiole : มีความยาว 10-30 มิลลิเมตร

Median leaflets: ยาว 150-300 มิลลิเมตร ความกว้าง 15-25 มิลลิเมตร ใบมีลักษณะเหมือนหนัง(leathery) และปราศจากปุ่มเล็กๆ(nodules) ด้านบนของผิวหน้าใบจะมีการโค้งเว้าแบบท้องเรือทางขวางจากขอบใบที่มีบางแต่มีความแข็ง และมีการโค้งนูนทางแนวยาว ขอบใบย่อยจะไม่หนา สำหรับฟอร์มส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในส่วนทางใต้ของพื้นที่ที่กระจายตัว มีหนามเล็กๆ 1-5 หนาม ซึ่งมุ่งไปทางปลายใบย่อยทั้ง 2 ด้าน อย่างไรก้ตามขอบใบของใบย่อยจะมีแต่ล่ะรูปแบบForm โดยเฉพาะพืชทางภาคเหนือของพื้นที่จะมีการกระจายตัวเต็มเป็นบริเวณกว้างเต็มไปหมด บางรูปแบบจะมีฟันขนาดใหญ่ จนบางทีจะเรียกหนามที่ใหญ่ว่า lobes ได้เลย ที่ปลายใบย่อยจะเป็นหนามแหลม ยกเว้นแต่ บางกรณีที่ไม่ธรรมดา

Basal leaflets: โดยทั่วไปจะลดขนาดลงไปสู่ด้านล่างเป็นแบบ a long series of spines โดยจะถึงลงไปจนถึงใบด้านล่างสุด

Cone:ทั้งสอง Cone จะสามารถออกได้ 1-4 Cones ต่อฤดูกาลต่อต้น โดย Conesจะออกเป็นสีเขียวในทีแรกแต่ในหลายๆกรณี จะกลายออกมาเป็นสีเหลือง โดยจะปรากฏออกมาในเดือนมกราคม

Male Cone: มีความยาว 400-820 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 65-150 มิลลิเมตร และมีความยาว Peduncle 80-220 มิลลิเมตร Cone มวลสด 0.3-1.2 กิโลกรัม และมี sporophylls 190-390 ในหลายๆกรณีที่ Cones จะเริ่มถึงเวลาเต็มที่ในการผสมพันธุ์ จะส่งกลิ่นอันรุนแรงระหว่างเรณู(Pollen shedding) ซึ่งแต่ล่ะ Cone จะผลิตละอองเรณู(pollen)จำนวนมาก

Female Cone:มีความยาว 300-760 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 120-250 มิลลิเมตร และมีก้านช่อดอก 60-310 มิลลิเมตร ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนเป็นส่วนใหญ่ Female Cone จะมีน้ำหนัก 2.3-4.9 กิโลกรัม และมี sporophylls 120-240 ที่ส่วนปลายยอดที่ประมาณ 12% Female Coneจะสลายไปเองตามธรรมชาติในช่วงเดือน กันยายนถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ให้ผลผลิต 140-462

Seeds(เมล็ด): มีสีแดงเข้ม ยาว 25-34 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 19-21 มิลลิเมตร พร้อมดัชนี sarcotesta ประมาณ 7% sarcotesta จะกลายเป็นเมือกเมื่อสุก

Seeds kernels(เมล็ดที่ปลอกเปลือกแล้ว): จะมีความยาว 23-31 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 17-18 มิลลิเมตร และมีสันตามยาวที่โดดเด่น 9-11

Habitat(ถิ่นที่อาศัย): สายพันธุ์นี้เกิดขึ้นจากบริเวณ East London ใน the Eastern Cape ทางตอนเหนือผ่านไปทาง the Transkei และ KwaZulu-Natal ทาง Swaziland ในทางตอนใต้จำกัดอยู่เพียงแนวชายฝั่งแคบๆ แต่ใน KwaZulu-Natal อยู่ห่างจากมหาสมุทรประมาณ 100 กิโลเมตร พืชเติบโตในป่าและพื้นที่ชื้นอื่นๆที่กำบัง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนรายปี 900-1300 มิลลิเมตร และฝนตกส่วนใหญ่ในช่วงฤดูร้อน ช่วงฤดูร้อนที่อบอุ่นและมีความชื้นและความเย็นในฤดูหนาวและไม่มีน้ำค้างแข็ง แม้ว่าประชากรตามธรรมชาติจะถูกทำลายล้างโดยนักสะสมและการเกษตรที่ทำลายล้างสำหรับการการปลูกอ้อยและสับปะรด แต่การดำรงอยู่ของสายพันธุ์ในธรรมชาติในอนาคตนั้นไม่ตกอยู่ในอันตรายเนื่องจากสาเหตุหลักมาจากการประสบการณ์สำเร็จในการฟื้นฟูกล้าไม้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจไม่เป็นจริงสำหรับทุกรูปแบบของสายพันธุ์นี้ ซึ่งบางครั้งสายพันธุ์นี้ไม่เคยอุดมสมบูรณ์เลย

Cultivation(การเพาะปลูก): สายพันธุ์นี้มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตได้ง่ายโดยขยายพันธุ์ได้ทางเมล็ด เติบโตได้ดีในสภาวะแสงระยิบระยับหรือหากมีแสงเงาเป็นเวลาอย่างน้อยส่วนหนึ่งของวัน the sarcotesta ใช้เวลานานมากในการกลายเป็นเมือก และบางครั้งก็ยากที่จะทำความเมล็ดที่ปราศจากเปลือกได้อย่างทั่วถึง น้ำค้างแข็งอาจจะทำร้ายก้านใบย่อยได้แต่ไม่ง่ายในการฆ่าพืชที่มีขนาดใหญ่โตเต็มที่ได้ด้วยลำต้นที่อยู่ใต้ดิน

Note(หมายเหตุ): มักจะได้ผลลัพธ์ที่น่าผิดหวังกับการผสมเกสรของสายพันธุ์นี้ แม้ว่าเมล็ดที่เก็บในทุ่งมักจะให้เปอร์เซนต์การงอกสูง อาจเป็นเพราะการผสมเกสรของแมลงปีกแข็ง Porthetes pearsonii โดย omnules มักเป็นการแฝงตัวของแมลงปีกแข็งอื่น คือ Antliarhitus zamiae

รูปแบบ(form)แปรผันได้อย่างมากมายเกิดขึ้นในระบบสัณฐานวิทยาของใบและ Cones จากบางท้องที่แต่ในอดีตกลับไม่ได้รับความสนใจมากนัก ความผันแปรของใบนั้นสัมพันธ์กับความยาว ความยาวของใบย่อย หนาม(spininess) แว็กบนผิวหน้าใบ(Wax)

แม้ว่า Encephalartos villosus อาจมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ Encephalartos aplanatus Encephalartos cerinus และ Encephalartos umbeluziensis ทั้งสามสายพันธุ์ สามารถแยกแยะความแตกต่างจากพืชพรรณได้อย่างง่ายดายดังนี้

Encephalartos aplanatus ใบมีก้านใบ(Petiole)สั้น ใบย่อยที่ด้านล่ายง(basal leaflets)โดยส่วนใหญ่จะลดขนาดลงสู่ฐานเป็น long Serie หนามเป็นชุดยาวค่อยๆลดขนาดลงไปเรื่อยๆไปจนถึงด้านล่าง ใบย่อยจะมีความกว้าง 25 มิลลิเมตร หรือใหญ่กว้าง มีพื้นผิวเป็นกระดาษและขอบเป็นลูกคลื่นได้ ด้านบนของใบย่อยเว้าเป็นท้องเรืออย่างมาก(strongly concave transversely) และนูนมากตามแนวขวาง(strongly convex longitudinally)

Encephalartos cerinus: ใบย่อยทั้งหมดสัมพันธ์กับความยาวก้านใบ(long petiole) ใบย่อยด้านล่างมีการลดลงจนถึงหนามจำนวนเล็กน้อยมากในระยะสั้นๆ ขอบใบย่อยของพืชที่ต้นโตเต็มที่จะไม่มีหนามที่ขอบ

Encephalartos umbeluziensis: ระยะก้านใบย่อย(petiole)ค่อนข้างยาว ใบย่อยที่ด้านล่างฐานใบจะลดขนาดลงเหลือเป็นหนามหรือเงี่ยงจำนวนเล็กน้อยในระยะสั้นๆ ใบย่อยทั่วไปจะมีหนามเล็กๆอยู่หลายซี่ที่ขอบใบและส่วนปลายเหล่านี้ไปในทางปลายใบ

Encephalartos villosus: ก้านใบย่อยมีระยะของก้านใบสั้น(short petiole) ใบย่อยด้านล่าง(basal leaflets)จะลดขนาดหนามลงไปที่ฐานโดยจะลดขนาดลงเป็นแบบ long series of pinnacanths and spines ซึ่งเกือบจากจะถึงโคนใบล่าง ใบย่อยจะมีลักษณะแคบมากกว่า 25 มิลลิเมตร มีลักษณะใบคล้ายๆหนัง(leathery) และขอบใบจะไม่เป็นคลื่น ส่วนบนของก้านใบย่อยจะเว้าแบบท้องเรือเล็กน้อยแต่แข็งในทางขวาง(concave transversely) และตรงถึงนูนเล็กน้อยตามยาว

Encephalartos villosus และ Encephalartos altensteinii เป็นลูกผสมทางธรรมชาติ ในตำแหน่งใกล้กับ East London ที่ตำแหน่งพื้นที่กระจายพันธุ์นี้จะเป็นตำแหน่งทับซ้อนกัน ในบริเวณใกล้เคียงกับเขื่อน Jozini ซึ่งเป็นพื้นที่การกระจายตัวของสายพันธุ์ Encephalartos villosus และ Encephalartos senticosusที่ทับซ้อนกัน มีข้อบ่งชี้ว่าสายพันธุ์นี้ยังมีการผสมกันในป่าด้วย

© 2000:Mr.Prince Farm, All Rights Reserved | Awesome Theme by: D5 Creation | Powered by: WordPress