ข้อมูล Encephalartos Caffer

ข้อมูล Encephalartos Caffer (แปลมาจากหนังสือของ South Africa)

Encephalartos caffer
Encephalartos caffer

หลังจากได้เห็นสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ.1772 Cal Pahr Thunberg อธิบายมันในปี ค.ศ.1775 ว่ามันเหมือนปาล์ม จึงเรียกมันในชื่อ “Cycas caffra”  มีการอธิบายพืชชนิดนี้  โดยให้ทุกคนรู้จักเป็น Encephalartos longifolius เพราะเขาคิดว่า Encephalartos caffer กับ Encephalartos longifolius เป็นสายพันธุ์เดียวกัน โดยเป็นสาย Juvenile form และเป็น muture form โดยคาดว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกัน ในปี ค.ศ.1800 Thunberg ได้มีการเปลี่ยนชื่อ จาก Zamia caffra เขาได้ใช้ชื่อที่ได้ในปี 1793 ในความนิยมได้อธิบายในการเดินทางและค้นพบชื่อชนิดนี้ ในปี 1801 “Encephalartos caffer “ ได้ถูกบรรจุแทนชื่อ Zamia caffra เมื่อ N.J.Jacquin ได้บันทึกความแตกต่างระหว่าง Encephalartos longifolius ซึ่งเขาได้เรียกมันชื่อ Zamia longifolia ในปี 1834  J.G.C.Lehmann ได้ขยายความว่ามันคือ Encephalartos มีความจำเป็นที่ต้องไปบันทึกในตำราใหม่  Zamia caffra ก็เลยมาเป็น Encephalartos caffer  คำว่า” Caffer” มาจากคำว่า “Caffres” หมายถึง ประชาชน Xhosa ที่เมือง The Eastern Cape และในวันหนึ่งกลุ่มนี้ได้เรียกชาวยุโรปที่ตั้งถิ่นฐาน หรือว่ามันได้อ้างถึงถิ่นฐาน The Eastern Cape ซึ่งเวลานั้นได้กลับมาเรียกชื่อ caffraria

Habitat

เกิดในทุ่งหญ้าโล่งๆ ของพื้นที่ The Eastern Cape จาก  Humansdorp ถึง The Willowvale และ พื้นที่ Kentani ใน Transkei และจำนวนที่น้อยมากๆจะเกิดที่ Oribi Flats และทางตอนใต้ของ Port Shepstone ใน KwaZulu-Natal เป็นสายพันธุ์ที่ชอบอากาศร้อนในหน้าร้อน และ ชอบอากาศเย็นในหน้าหนาว ปริมาณฝนที่ตก 650-1000 มิลลิเมตรในหน้าร้อน สายพันธุ์นี้ถูกละเลย และถูกทำลายหนักมาก และในอนาคตที่จะหลงเหลืออยู่ในธรรมชาติจนต้องพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น

Cultivation

เป็นพืชที่เติบโตและเจริญพันธุ์ในแดดเต็มวันหรือแดดอ่อนได้ดี ต้องการการระบายน้ำที่ดีมากๆ และต้องการน้ำที่ค่าความเป็นกรดเล็กน้อย มันชอบอากาศเย็นจนถึงน้ำแข็ง บางทีไม่รู้เหตุผลว่าทำไม ใบเก่าได้แห้งไปก็จะเกิดใบใหม่หรือเกิด Coneขึ้นมาแทน แต่ถ้าผ่านไปหลายเดือน แล้วยังไม่แตกใบออกมา ในสภาวะที่เหมาะสมจะมีการแตกหน่อออกมา

ลำต้น (Stem)

ลำต้นขึ้นไปในตรงขึ้น มีหน่อยากมาก และด้วยความที่ต้นมันบางเล็ก และเป็นรากย่อยที่แตกมาใหม่เป็นจำนวนมาก( contractile roots)  มันจะสูงได้ 300-400 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 200-250 มิลลิเมตร ลำต้นจะปกคลุมด้วยขนอ่อนๆข้างบน

ใบทั้งหมด (Leaves)

ด้านบนใบจะมีสีเขียวแก่สว่าง ส่วนหลังใบจะมีสีเขียวแก่เข้มกว่า แตกใบก้านใบจะตรง บิด หรือ โค้งลง และตอนแรกหลังจากออกใบใหม่จะมีขน และขนจะเริ่มหลุดออกจากใบไป และกลับมาเรียบไร้ขน ใบมีความยาว 400-1000 มิลลิเมตร ในบางต้น ค่า pp-angle อาจจะไม่แน่นอน ใบจะมีองศาเข้าออก แต่โดยปกติ จะอยู่ที่ 90-140 องศา ในบางฟอร์มที่นอกเหนือของสายพันธุ์นี้ pp-angle ของคู่ใบย่อยอาจจะต้องพิจารณาเป็นคู่ๆ pr-angle จะเพิ่มจาก 30-50 องศา ไปถึง 80-150 องศา ในระยะครึ่งนึงของใบ ใบย่อยหลายๆใบย่อยจะไม่เป็นระเบียบด้วย s-angle แม้กระทั่งใบย่อยที่อยู่ใกล้ๆกัน จะมีค่าตั้งแต่ 0 องศา จนถึง -90 องศา ใบย่อยจะเป็นระเบียบมากขึ้น ครึ่งใบมี s-angle -70 ถึง -90 องศา  ใบย่อยจะมีการทับซ้อนบนทับล่าง โดยเฉพาะที่ปลายก้านจะทับกันจนถึงครึ่งใบเลย

Encephalartos caffer
Encephalartos caffer
Encephalartos caffer
Encephalartos caffer

Petiole

จะมีความยาว 60-130 มิลลิเมตร และปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลที่ผิวนอกตรงบริเวณฐาน

medium leaflets ใบจะอยู่เป็นกลุ่มและมีการบิด ทำมุมต่างๆกัน และทำมุมกับฐานต่างๆกัน สาเหตุเพราะใบที่ปรากฎใบค่อนข้างไม่เป็นระเบียบ ที่ผิวบนหน้าใบย่อยจะมีลักษณะเว้าตัวลงของผิวใบ(concave)เล็กน้อยตามขวาง  ผิวใบด้านบนตามแนวยาว เหมือนกันทุกใบคือเว้าตัวลงของผิวใบหรือโก่งตัวขึ้นอยู่ที่องศาที่เกิดขึ้น ผิวใบมีลักษณะผิวเหมือนหนัง(leathery) ยาวประมาณ 80-100 มิลลิเมตร กว้าง 8-10 มิลลิเมตร ขอบใบจะไม่มีหนาม แต่เมื่อต้นไม้ยังเล็ก จะมีหนามเล็กๆ(tooth) 1-2 หนาม ทั้งสองด้านของขอบใบ ขอบใบจะไม่บาง ปลายใบจะมีหนามแหลม

basal leaflets

จะลดขนาดลงไปที่ฐาน จนมีใบเล็กๆ(spine) 1-2 ใบ

Cone จะปรากฎในช่วง ธันวาคม ทั้ง male cone และ female cone จะเป็นสีเขียวแกมเหลือง จะเกิดขึ้น 1 cone ต่อ ฤดูกาลต่อต้น   แต่บางที male cone อาจจะออกมาได้ 2 coneขึ้นกับสภาวะความสมบูรณ์เวลานั้น

male cone มีขนาดความยาว 300-450 มิลลิเมตร แต่บางทีอาจมีรูปทรงแคบเป็นทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 60-80 มิลลิเมตร แต่อาจจะมี form อื่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง(100-120) ซึ่งจะไปคล้ายกับ Female coneได้ แต่ทั้งสองกรณีจะพบว่า ก้านของcone จะยาว 120-150 มิลลิเมตร โดยน้ำหนักCone จะอยู่ที่ 0.3-0.8 kg และมี 140-350 sporophylls โดยจะสมบูรณ์และผสมได้ในเดือน มกราคม-กุมภาพันภ์

Female cone ทั้งสองแบบจะมี ความยาว 200-300มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 120-150 มิลลิเมตร   หนัก 3.9 กิโลกรัม Cone จะมี 165 sporophylls ตอนยังสมบูรณ์ใหม่ๆ โดยสามารถเกิดขึ้นได้เพียง 9% ของทั้งหมด the bullae เป็นรูปทรงหนึ่งที่หายากมากของลักษณะของเปลือกเมล็ด ทรง Pyramidally ขึ้นไปเรื่อยๆ

เมล็ด ( Seeds)

มีสีแดง มีความยาว 35-40 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-24 มิลลิเมตร และ 19% เท่านั้นที่จะสามารถเจริญพันธุ์ได้

Seed kernals  เนื้อในเมล็ด มีความยาว 28-33 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 18-20 มิลลิเมตร และจะมี 10-12 เมล็ดที่ไม่ดีเป็นเมล็ดที่ไม่เติบโตในอนาคต

Notes :

ฟอร์มที่สายพันธุ์นี้หายากมาก บางทีมีคนบอกถึงการเติบโตใน The vicinity of East London โดยใบย่อยไม่มีการบิด(has a s-angle of 0″) มีช่องว่างระหว่างใบไม่เท่ากันสักอัน  และเป็น Encephalartos ที่แตกต่างจาก Encephalartos humilis , Encephalartos  ngoyanus และ Encephalartos cerinus

Encephalartos caffer  ใบทั้งก้านจะตรง  หรือบิดแล้วโค้งลง ใบย่อยจะมีขน และมีสีเขียวสดใส และมีช่องว่างระหว่างใบด้วยค่า pp-angle และ s-angle ของใบย่อย มีใบย่อยเป็น ความพิเศษในใบคือระยะระหว่างใบ และสีผิวใบทั้งสองด้านตามความรู้สึกจะเรียบเท่ากัน

Encephalartos cerinus  ใบจะตรง ใบย่อยจะมีจำนวนมาก แต่ไม่มีใบไหนทับซ้อนกันหรือถ้ามีก็คงเล็กน้อย ทั้งสองด้านของใบย่อยจะเรียบ

Encephalartros humilis ปลายใบจะมีการโค้งดูแข็งๆ แต่ก็โค้งลงอย่างงดงามและ s-angle ของทั้งหมดของใบย่อยจะมีค่าเหมือนๆกัน ทั้งสองด้านของใบจะมีลักษณะเรียบ

Encephalartos ngoyanus  ใกล้เคียงครึ่งหนึ่งของใบมักจะโค้งขึ้น ครึ่งปลายส่วนใหญ่ไม่ค่อยตรงหรือตรงน้อยมาก ผิวบนใบย่อยจะนุ่มและมันเงา ผิวด้านล่างใบย่อยจะรู้สึกว่าความเรียบจะน้อยกว่าด้านบน เมื่อสัมผัสลงไปด้วยนิ้วมือ

 

© 2000:Mr.Prince Farm, All Rights Reserved | Awesome Theme by: D5 Creation | Powered by: WordPress